การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม(ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment ITA ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ เพื่อให้หน่วยงานที่เข้าร่วมประเมินฯ ได้รับทราบคุณลักษณะและสถานะการดำเนินงานในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาหน่วยงานภาครัฐทุกแห่งให้มีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และเพื่อขับเคลื่อนให้หน่วยงานภาครัฐมีผลการดำเนินงานบรรลุซึ่งเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ.2561-2580) ทั้งนี้ การเช้าร่วมการประเมินฯของภาครัฐทั่วประเทศ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 ซึ่งมีมติให้ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินฯในปีงบประมาณ พ.ศ.2561-2564
เพื่อให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2563 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลหัวช้าง จึงขอความร่วมมือท่านที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียภายนอก หมายถึง บุคคล นิติบุคคล บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่มารับบริการ หรือมาติดต่อกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลหัวช้าง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เพื่อกรอกแบบประเมินฯตามช่องทางที่แนบท้ายหนังสือนี้ โดยสามารถใช้โทรศัพท์มือถือ Smartphone กรอกข้อมูลตามลิงค์ หรือ สแกน QR code พร้อมกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนได้ทันที ทั้งนี้ ให้กรอกแบบประเมินภายในเดือน กรกฎาคม 2563
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก(EIT)
https://itas.nacc.go.th/go/eit/cdpuvp
ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก หมายถึง บุคคล นิติบุคคล บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่เคยมารับบริการหรือมาติดต่อตามภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ นับตั้งแต่ในปี พ.ศ.2563 เป็นต้นมา การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ จำนวนร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีส่วนได้เสียภายนอก และจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ตัวอย่าง กรณีหน่วยงานมีผู้มีส่วนได้เสียภายนอกจำนวนน้อย (น้อยกว่า 30 คน ) ให้เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียภายนอกทั้งหมด
การรวบรวมข้อมูล
หน่วยงานระบุจำนวนประมาณการจำนวนผู้มีส่วนได้เสียภายนอก และกรอกรายชื่อตัวอย่างผู้มีส่วนได้เสียภายนอกของหน่วยงานตามแบบฟอร์มและตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. หรือคณะที่ปรึกษาแนะนำ (โดยผู้ดูแลระบบของหน่วยงานเป็นผู้กรอกข้อมูลและผู้บริหารจะต้องตรวจสอบและอนุมัติข้อมูล)
การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบ EIT ดำเนินการ 3 วิธีการ ดังนี้
(1) ให้หน่วยงานนำ URL หรือ QR code ไปเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แก่ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกของหน่วยงานที่มารับบริการหรือมาติดต่อกับหน่วยงาน โดยหน่วยงานควรคำนึงถึงช่องทางการเผยแพร่ที่มีผู้มีส่วนได้เสียภายนอกจะสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกจะเข้ามาตอบแบบสำรวจ EIT ด้วยตนเองผ่านทาง URL หรือ QR code ซึ่งจะเป็นการตอบเข้าสู้ระบบ ITAS โดยตรง
(2) คณะที่ปรึกษาการประเมินจะวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกที่สำคัญของหน่วยงานเพื่อให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานจากนั้นจะกำหนดแนวทางและดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักทางวิชาการ ทั้งนี้อาจเก็บข้อมูลจากรายชื่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกตามที่หน่วยงานจัดส่งข้อมูลในระบบ ITAS หรือ อาจข้อรับข้อมูลเพิ่มเติม หรืออาจขอเข้าเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามที่หน่วยงาน หรือแหล่งข้อมูลตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
(3) ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกสามารถมาเข้าตอบแบบสำรวจ EIT ของหน่วยงานได้โดยการค้นหาช่องทางการเข้าตอบจากระบบ ITAS เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกที่เคยมารับบริการหรือมาติดต่อกับหน่วยงานในปี พ.ศ.2563 ได้มีโอกาสเข้ามาตอบแบบสำรวจ EIT ได้ด้วยตนเองในระบบ ITAS โดยตรง
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
https://itas.nacc.go.th/go/iit/cdpuvp
ผู้มีส่วนได้เสียภายใน
ผู้มีส่วนได้เสียภายใน หมายถึง บุคลากรของหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ผู้อำนวยการ/หัวหน้า ข้าราชการ/พนักงาน ไปจนถึงลูกจ้าง/พนักงาน ที่ทำงานให้กับหน่วยงานภาครัฐมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ จำนวนร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีส่วนได้เสียภายใน แต่จะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ตัวอย่าง กรณีหน่วยงานมีผู้มีส่วนได้เสียภายในจำนวนน้อย (น้อยกว่า 30 คน ) ให้เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียภายในทั้งหมด
การรวบรวมข้อมูล
ให้หน่วยงานระบุจำนวนผู้มีส่วนได้เสียภายใน ลงในระบบ ITAS (โดยผู้ดูแลระบบของหน่วยงานเป็นผู้กรอกข้อมูลและผู้บริหารจะต้องตรวจสอบและอนุมัติข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบ IIT เก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการ ดังนี้ ให้หน่ายงานนำ URL หรือ QR code ช่องทางการเข้าตอบแบบสำรวจ IIT ของหน่วยงาน ไปเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แก่ผู้มีส่วนได้เสียภายในของหน่วยงาน โดยหน่วยงานควรคำนึงถึงช่องทางการเผยแพร่ที่ผู้มีส่วนได้เสียภายในจะสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและการเผยแพร่ครอบคลุมทั่วถึงทุกส่วนงานและทุกระดับของหน่วยงาน จากนั้น ผู้มีส่วนได้เสียภายในจะเข้ามาตอบแบบสำรวจ IIT ด้วยตนเองผ่านทาง URL หรือ QR code ซึ่งจะเป็นการตอบเข้าสู้ระบบ ITAS โดยตรงทั้งนี้ ให้หน่วยงานกำกับติดตามและส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียภายในเข้ามาตอบตามระยะเวลาที่กำหนดให้ได้มากที่สุดและไม่น้อยกว่าจำนวนกลุ่มตัวอย่างขันต่ำตามที่กำหนด